ศาสตร์พยาบาล
อักษรวิ่ง
วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
เป็นระบบที่ทำหน้าที่คล้ายกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย ซึ่งนอกจากสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือเซลล์ไข่และสร้าง hormone เพศหญิงแล้ว ยังทำหน้าที่ดูแลฟูมพักให้เซลล์ไข่ที่ผสมติดให้พัฒนากลายเป็นตัวอ่อนจนคลอดออกมา ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบ ด้วย
อวัยวะเพศภายนอก ( external genitalia) เป็นอวัยวะที่มองเห็นได้จาก ภายนอก อาจจะเรียกว่า vulva หรือ pudendum ซึ่งได้แก่ เนินหัวเหน่า แคมใหญ่ แคมเล็ก clitoris, vestibule, Bartholin’s gland , paraurethral gland และบริเวณฝีเย็บ
image
1.เนินหัวเหน่า ( mone pubis)เป็นผิวหนังนูนอยู่บริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่า ( pubic symphysis) เมื่อเข้าสู่วัยสาวจะมีขนงอกขึ้นที่บริเวณนี้ สำหรับในเพศหญิงแนวขนจะเรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมมียอดชี้ลงมาทางด้านล่าง
2.แคมใหญ่ ( labiamajora) เป็นผิวหนังที่ต่อมาจากทางด้านล่างของเนินหัวเหน่า มีลักษณะนูนแยกเป็น 2 กลีบลงไปบรรจบกันทางด้านหลังที่บริเวณฝีเย็บ
3.แคมเล็ก ( labia minora)เป็นชั้นผิวหนังที่ยกตัวขึ้นเป็นกลีบเล็กๆ สีแดง 2 กลีบ ทางด้านในของแคมใหญ่ กลีบของแคมเล็กทางด้านหน้าจะแยกออกเป็น 2 แฉก แฉกด้านบนมาจรดกันกลายเป็นผิวหนังคลุม clitoris เรียกว่า ” prepuce of clitoris” แฉกด้านล่างจรดกันใต้clitoris เรียกว่า ” frenulum of clitoris “ ส่วนปลายหลังของแคมเล็กจะโอบรอบรูเปิดของช่องคลอดและท่อปัสสาวะแล้วมาจรดกันด้านหลังเรียกว่า ” fourchette “ แคมเล็กไม่มีขนงอก
4.clitoris มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ มีโครงสร้างเป็น erectile tissue เช่นกันมีหลอดเลือดและปลายประสาทรับความรู้สึกมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดการฉีกขาดที่บริเวณนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในขณะคลอดจะทำให้เจ็บ เสียเลือดมากและเย็บติดได้ยาก
5.vestibule เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างแคมเล็กทั้งสองข้าง ตั้งแต่ clitoris ลงไปจนถึง fourchette บริเวณนี้มีรูเปิดของท่อต่างๆ ดังนี้
– รูเปิดของท่อปัสสาวะ ( urethral orifice) จะอยู่ถัดจาก clitoris ราว 1 ซม.
– รูเปิดของช่องคลอด ( vaginal orifice) อยู่ถัดไปอีก มีเยื่อพรหมจารีย์ปิดอยู่
– รูเปิดของ Bartholin’s gland และ paraurethral gland อย่างละ 1 คู่
6.Bartholin’s gland (greater vestibular gland) เป็นต่อมเล็กๆ ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวพบอยู่ 2 ข้างของรูเปิดของช่องคลอด จะให้ท่อออกมาเปิดที่บริเวณระหว่างเยื่อพรหมจารีย์กับแคมเล็ก ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่นและมีฤทธิ์เป็นด่าง เพื่อลดความเป็นกรดในช่องคลอด
7.เยื่อพรหมจารีย์ ( hymen) เป็นเนื้อเยื่อที่ยื่นออกมาปิดรูเปิดของช่องคลอด ตรงกลางจะมีรูเปิดเล็กๆ เยื่อพรหมจารีย์นี้สามารถยืดหยุ่นได้ ในเด็กบางคนเยื่อพรหมจารีย์ไม่มีรูเปิดจึงปิดช่องคลอดไว้หมด ทำให้เลือดประจำเดือนไม่สามารถไหลออกมาได้ เรียก” imperferated hymen “
8.ฝีเย็บ( perineum) เป็นบริเวณรูปสี่เหลี่ย ( diamond-shape)โดยลากเส้นเชื่อมต่อจากกระดูกหัวเหน่าไปยัง ischial tuberosity 2 ข้างและกระดูกก้นกบ แต่ถ้าลากเส้นตรงเชื่อมต่อระหว่าง ischial tuberosity ทั้ง 2 ข้างจะแบ่งฝีเย็บออกเป็นบริเวณรูปสามเหลี่ยม 2 รูปคือด้านหน้าเรียก urogenital triangle เป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศภายนอกทั้งหมด และด้านหลังเรียกว่า ” anal triangle “จะพบรูเปิดของทวารหนักอยู่บริเวณที่อยู่ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก จะมีก้อนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวและแข็งแรงอยู่ข้างในเรียกว่า” perineal body “ ซึ่งมีความสำคัญเป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อลายหลายมัด ที่ทำหน้าที่รองรับอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานไม่ให้เคลื่อนออกมา ฝีเย็บมักจะฉีกขาดขณะที่ทำการคลอด ถ้าหากไม่มีการเย็บซ่อม ก็อาจจะทำให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานโดยเฉพาะมดลูกเคลื่อนที่ออกมาทางช่องคลอด ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ฝีเย็บฉีกขาดขณะทำคลอดจะต้องตัดบริเวณฝีเย็บ เรียกว่า ” episiotomy “ เพื่อเปิดช่องคลอดให้กว้างขึ้นจะได้คลอดสะดวก เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วค่อยทำการเย็บปิดกลับตามเดิม
อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน
cats-crop
1.ช่องคลอด(Vaginal Canal) ช่องคลอด เป็นช่องอวัยวะภายในที่ตั้งอยู่ระหว่างช่องปัสสาวะกับช่องทวารหนัก ยาวประมาณ 7 – 8 เซนติเมตร เป็นช่องสำหรับผ่านของตัวอสุจิเพื่อเข้าไปปฏิสนธิกับไข่บริเวณปีกมดลูกหรือท่อนำไข่ รวมถึงเป็นทางออกของทารกในขณะคลอด ผนังภายในของช่องคลอดเป็นเยื่อเกือบติดกัน และสามารถแยกออกจากกันได้ สามารถยืดหดได้มาก และบริเวณปากช่องคลอดมีต่อมขนาดเล็กทำหน้าที่ขับน้ำเมือกมาเลี้ยงช่องคลอด เรียกว่า ต่อมบาร์โทลิน (Bartholin Grand) ในภาวะปกติ ช่องคลอดจะมีมีสภาพเป็นกรดที่มาจากการเปลี่ยนไกลโคเจนให้เป็นกรดแลกติก (Lactic Acid)แบคทีเรียชนิดหนึ่ง จึงเป็นสภาวะที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อจุลินทรีย์ได้ และที่ปากช่องคลอดเยื่อบางๆ เรียกว่า เยื่อพรหมจารี (Hymen) ปกคลุมอยู่ เยื่อนี้ จะขาดไปเมื่อมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกหรือกรณีอื่นๆ เช่น การเล่นกีฬา การทำงานหนักที่ทำให้เกิดการฉีกขาดของเยื่อพรหมจารี แต่ในบางคนอาจจะขาดมาแล้วตั้งแต่กำเนิด
2.มดลูก(Uterus) มดลูกเป็นอวัยวะสืบพันธ์เพศหญิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรูปร่างลักษณะคล้ายผลชมพู่ ตั้งอยู่ในอุ้งเชิงกราน และอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะซึ่งอยู่ด้านหน้า และทวารหนักซึ่งอยู่ด้านหลัง มีส่วนที่ติดต่อกับช่องคลอดทีเป็นปากมดลูก เรียกว่า เซอวิก (Cervix) ภายในมดลูกมีลักษณะเป็นโพรงแคบๆ มีเยื่อบุโพรงมดลูกที่เป็นกล้ามเนื้อหนา และมีความแข็งแรง มีเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทุกรอบเดือนจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน และโปรเจสเตอร์โรน เยื่อผนังมดลูกจะหลุดลอกขณะมีประจำเดือน แต่เมื่อตั้งครรภ์จะขยายตัวใหญ่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิจากเชื้ออสุจิแล้ว และค่อยๆเจริญเติบโตเป็นทารกในครรภ์ หลังการคลอดผนังมดลูกจะกลับคืนสู่สภาพเดิมภายใน 45 วัน
หน้าที่ของมดลูก
• การมีประจำเดือน ที่เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุมดลูก ภายหลังที่ไม่มีไข่มาฝั่งตัว ซึ่งจะมีการฉีกขาดของเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลออก หรือที่เรียกทั่วไปว่า การเป็นประจำเดือน
• การตั้งครรภ์ เป็นที่ฝังของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว และพัฒนาเป็นตัวอ่อนจนกระทั้งเจริญเติบโตเป็นทารก
• การคลอด อันมาจากการครบกำหนดของการเติบโตของทารกในครรภ์ ขณะคลอดผนังมดลูกจะมีการหดตัวเป็นระยะๆ เพื่อให้ทารกคลื่นออกผ่านมาถึงช่องคลอด
3.รังไข่(Ovary) รังไข่ เป็นอวัยวะขนาดเล็ก สีขาวมัน มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ขนาดเท่าเมล็ดมะปราง มี 2 อัน อยู่บริเวณปีกมดลูกซ้าย-ขวา ทั้งสองข้าง เชื่อมติดกับมดลูกด้วยปีกมดลูกหรือท่อนำไข่
หน้าที่ของรังไข่
• สร้างเซลล์สืบพันธ์ ได้แก่ เซลล์ไข่ (Ovum)
• สร้างฮอร์โมนเพศ ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอร์โรน และแอนโดรเจน แต่ที่สำคัญมาก สำหรับเพศหญิง คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทางอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญเติบโต รวมถึงพัฒนาลักษณะของเพศหญิงให้เด่นชัดขึ้น เช่น การเกิดเต้านมโต การมีขนที่อวัยวะสืบพันธุ์ และเสียง เป็นต้น
เซลล์ไข่ (Ovum) หรือไข่ของเพศหญิงจะสุก และเคลื่อนออกมาที่ท่อนำไข่ ที่เรียกว่า การตกไข่ เดือนละ 1 ใบ โดยสุกสลับกันจากรังไข่แต่ละข้าง แต่ในบางครั้ง อาจพบการเจริญ และสุกของไข่เกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง และหากมีการปฏิสนธิพร้อมกันก็จะเกิดเป็นตัวอ่อนทั้ง 2 ฟอง หรือที่เรียกว่า การตั้งครรภ์แฝด
รังไข่จะมีไข่ (Ovum) ที่ยังไม่เจริญเต็มที่หลายพันฟอง เมื่อเด็กเติบโตเข้าอายุ 12 – 13 ปี ไข่จะเริ่มสุก เพราะเกิดการกระตุ้นจากฮอร์โมนของต่อมพิทูอิตารี (Pituitary grand) ไข่ที่สุกแล้วจะตกจากรังไข่เดือนละ 1 ใบ ของแต่ละข้างสลับกัน และจะเคลื่อนเข้าสู่ท่อนำไข่ และหากมีการปฏิสนธิจากตัวอสุจิก็เข้าฝังตัวในเยื่อบุมดลูก ซึ่งขณะที่ไข่เคลื่อนผ่านท่อนำไข่ ต่อมรังไข่จะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกเพื่อเตรียมการฝังตัวของไข่
2
รังไข่ จะเสื่อมสภาพ และฝ่อไป เมื่อผู้หญิงมีอายุประมาณ 50 ปี ทำให้เพศหญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือบางครั้ง เรียกว่า วัยทอง
4.ท่อนำไข่(Oviduct) หรือปีกมดลูก (Fallopian Tube) ท่อนำไข่ หรือ ปีกมดลูกเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่
การตกไข่
4การตกไข่ หมายถึง การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ โดยปกติรังไข่แต่ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ในแต่ละเดือน ดังนั้น จึงมีการตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 1 ใบ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผนังหนาขึ้นทั้งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 กรณีต่อไปนี้
1) ถ้ามีอสุจิเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่ในขณะที่มีการตกไข่ อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ด้านที่ใกล้กับรังไข่ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูก เพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตต่อไป
2) ถ้าไม่มีตัวอสุจิเข้ามาในท่อนำไข่ ไข่จะสลายตัวก่อนที่จะผ่านมาถึงมดลูก จากนั้นผนังด้านในของมดลูกและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง เป็นจำนวนมากก็จะสลายตัว แล้วไหลออกสู่ภายนอกร่างกายทางช่องคลอด เรียกว่า ประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่อายุประมาณ 12 ปี ขึ้นไป รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปประมาณ 28 วัน และจะมีทุกเดือนไปจนกระทั่งอายุประมาณ 50 – 55 ปี จึงจะหยุดการมีประจำเดือน โดยจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย
เต้านม (Female breasts)
3
ส่วนประกอบของเต้านม
เต้านมของผู้หญิงไม่ใช่อวัยวะเพศ แต่มีความหมายทางเพศ คนจำนวนมากเห็นว่าเต้านมของผู้หญิงเป็นจุดที่กระตุ้นความต้องการทางเพศ และผู้หญิงจำนวนมากพบว่าการกระตุ้นเต้านมโดยเฉพาะบริเวณหัวนม (nipple) ทำให้เกิดความต้องการทางเพศ เต้านมจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นทางเพศหรือไม่ มากน้อยเพียงใดนั้น จะแตกต่างไปในแต่ละบุคคล และความไวของการกระตุ้นทางเพศก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้หญิงคนนั้นอยู่ในระยะของการมีประจำเดือนระยะใดเต้านมแต่ละข้างนั้นประกอบด้วยต่อมน้ำนมประมาณ 15-20 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีท่อน้ำนมไปสู่หัวนม และมีเนื้อเยื่อไขมันอยู่ใต้ผิวหนัง ส่วนรอบ ๆ หัวนมจะมีผิวคล้ำรอบ ๆ ซึ่งเรียกว่า อรีโอล่า (areola) ขณะตั้งครรภ์เต้านมจะปรับตัวและเตรียมตัวเพื่อผลิตน้ำนมเลี้ยงทารก และภายใน 2-3 วัน หลังจากคลอดบุตรแล้ว เต้านมจะเริ่มผลิตน้ำนม โดยฮอร์โมนจากต่อมพิทุอิทารี่ (pituitary gland) คือ โปรแลคติน (prolactin) จะไปกระตุ้นการผลิตน้ำนม เมื่อทารกดูดหัวนมจะทำให้ต่อม พิทุอิทารี่ ถูกกระตุ้นและหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (oxytocin) ออกมาเพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหลออกมา โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงส่วนใหญ่จะกังวลกับขนาด และรูปร่างของเต้านมวัฒนธรรมของเรา มักจะคิดว่าเต้านมใหญ่ทำให้ดูเซ็กซี่ (sexy) เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการ และมีการโฆษณาที่เสนอให้บริการที่ทำให้หน้าอก หรือ เต้านมใหญ่ขึ้นอยู่จำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม ขนาดและรูปร่างของเต้านมที่เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกายเป็นสำคัญ เต้านมที่ใหญ่อาจจะสร้างความอึดอัดรำคาญ หรือดูไม่สวยสำหรับผู้หญิงบางคน เต้านมเล็กอาจจะดูดี และไวต่อการกระตุ้นทางเพศมากกว่า เนื่องจากปลายประสาทที่มาเลี้ยงไม่ได้กระจัดกระจายมากเกินไป
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
อวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์เพศชาย(male reproductive system) ประกอบด้วย
5
1. อัณฑะ (testis) มีลักษณะเป็นก้อนรูปไข่มี 2 อันอยู่ในถุงอัณฑะที่ห้อยอยู่ภายนอกมีหน้าที่ผลิตอสุจิและผลิตฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเทอโรน (testosterone) ซึ่งจะเริ่มทำหน้าที่ในวัยอายุระหว่าง 12-16 ปีฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเด็กผู้ชายเข้าสู่ วัยเจริญพันธุ์คือ ตัวใหญ่ ไหล่กว้าง มีหนวดเครา เสียงห้าวขึ้น และมีความต้องการทางเพศภายในอัณฑะจะมีหลอดเล็กๆ ขดไปมาทำหน้าที่สร้างอสุจิ เรียกว่าหลอดสร้างอสุจิ
2. ถุงอัณฑะ (scrotum) อยู่นอกร่างกายทำให้อุณหภูมิเย็นกว่าภายในร่างกายซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะกับการเจริญของอสุจิ
3. หลอดเก็บอสุจิ (epididymis) อยู่ด้านบนของอัณฑะ ลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ทำหน้าที่เก็บอสุจิจนแข็งแรงก็จะส่งไปที่ท่อซึ่งใหญ่กว่าเรียกว่า ท่ออสุจิทำหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
4. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle)ทำหน้าที่หลั่งของเหลวประกอบด้วยอาหารจำพวกน้ำตาล ฟรักโทสและโปรตีนซึ่งทำให้อสุจิมีชีวิตอยู่ได้ เรียกอสุจิกับน้ำเลี้ยงอสุจิว่าน้ำอสุจิ (semen)
5. ต่อมลูกหมาก (prostate gland) อยู่รอบๆ หลอดฉีดอสุจิ สร้างสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะของชาย
6. อวัยวะภายนอกเรียกว่า องคชาต (penis) เป็นหลอดกลวงมีท่อปัสสาวะและท่ออสุจิซึ่งเชื่อมต่อกัน เป็นทางผ่านของปัสสาวะและอสุจิแต่น้ำปัสสาวะและน้ำอสุจิจะไม่ออกจากท่อในเวลาเดียวกันมีเยื่อที่แข็งตัวได้เมื่อมีเลือดเข้าไปคั่งอยู่การทำงานจะอยู่ใต้อำนาจของเส้นประสาทที่แยกออกมาจากไขสันหลังบริเวณก้นกบ
ส่วนประกอบของอสุจิ
6
ภาพ : โครงสร้างของอสุจิที่มา: ซีดีโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสืบพันธุ์ ๕ณาจารยืภาควิชาสูตินรีเวชวิทยา
1.ส่วนหัว(Head) มีลักษณะรูปไข่ ภายในมีนิวเคลียสบรรจุไว้เกือบเต็ม ทางส่วนหน้าสุดของส่วนหัวจะมีลักษณะเป็นถุง เรียกว่า อะโครโมโซม (acrosome) ซึ่งพัฒนามาจาก golgo bodies มีเอนไซม์ซึ่งสามารถย่อยสลายผนังเซลล์ของไข่ เรียกว่า ไฮยาลูโรนิเดส (hyaluronidase) หรือ ไฮโดรไลติก เอนไซม์ (hydrolytic enzyme) หรือ ไลซิน (lysin)
2.ส่วนลำตัว(Midpiece หรือ Middle piece) เป็นส่วนที่ต่อจากส่วนหัว มี mitochondriaจำนวนมากเรียงเป็นเกลียว ทำหน้าที่สร้างพลังงานให้กับสเปิร์ม
3.ส่วนหาง(Tail หรือ Flagellum) เป็นส่วนของหลอดโปรตีน (microtubule)ที่ยื่นออกมาจาก เซนตริโอล มีหน้าที่พัดโบกให้สเปิร์มเคลื่อนที่ไปได้
ขั้นตอนในการสร้างตัวอสุจิและการหลั่งน้ำอสุจิ มีดังนี้
7
เริ่มจากหลอดสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอยู่ภายในอัณฑะสร้างตัวอสุจิออกมา จากนั้นตัวอสุจิจะถูกนำไปพักไว้ที่หลอดเก็บอสุจิก่อนจะถูกลำเลียงผ่านไปตามหลอดนำตัวอสุจิ เพื่อนำตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิรอการหลั่งออกสู่ภายนอก ต่อมลูกหมากจะหลั่งสารเข้าผสมกับน้ำเลี้ยงอสุจิเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับตัวอสุจิก่อนที่จะหลั่งน้ำอสุจิออกสู่ภายนอกทางท่อปัสสาวะ
โดยปกติเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิได้เมื่ออายุประมาณ 12 – 13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต ส่วนการหลั่งน้ำอสุจิในแต่ละครั้งจะมีของเหลวออกมาเฉลี่ยประมาณ 3 – 4 ลูกบาศก์เซนติเมตรและมีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 350 – 500 ล้านตัว สำหรับชายที่เป็นหมันจะมีตัวอสุจิน้อยกว่า 30 – 50 ล้านตัว ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่ผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาจะเคลื่อนที่ได้ประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตรต่อนาที และมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จะมีชีวิตอยู่ในมดลูกของเพศหญิงได้นานประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง
น้ำอสุจิ แต่ละครั้งที่หลั่งออกมาประกอบด้วยตัวอะสุจิและน้ำหล่อเลี้ยงต่างๆประมาณครั้งละ 3 ลบ . ซม . จำนวนอสุจิประมาณ 300-500 ล้านตัว
ตัวอสุจิ มีขนาดเล็กมากมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดประกอบด้วยส่วนหัวและส่วนหางดังรูป มีอายุ 48 ชั่วโมงเมื่อเข้าไปในมดลูก
รกและฮอร์โมนที่สร้างจากรก
เมื่อมีการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ไปในท่อนำไข่โดยการพัดโบกของขนเซลล์ (cilia) ของท่อนำไข่ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากฮอร์โมนอีสโทรเจน เมื่อมีการผสมระหว่างอสุจิและไข่ เกิดการปฏิสนธิขึ้น (fertilization) จนเคลื่อนที่มาถึงมดลูกซึ่งเป็นระยะบลาสโตซิสท์ (blastocyst) มีจำนวนเซลล์ประมาณ100 เซลล์ แล้วจะฝังตัวที่โพรงมดลูกประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ แล้วเซลล์โทรโฟบลาสท์ (trophoblast) ของบลาสโตซิสจะยึดกับเนื้อเยื่อของมดลูก เจริญไปเป็นรก (placenta) ดังนั้นรกจึงเป็นส่วนหนึ่งของทารก แต่จะอยู่นอกตัวทารกในมดลูกของมารดา
8
การตกไข่ การปฏิสนธิ การแบ่งเซลล์ และการฝังตัวของตัวอ่อนที่โพรงมดลูกซึ่งใช้เวลาประมาณ 7 วัน ดังภาพ ภายหลังการฝังตัวของตัวอ่อน ส่วนเซลล์โทรโฟบลาสทจะเจริญไปเป็นรก รกจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนมาควบคุมการตั้งครรภ์ให้ดำเนินต่อไป
รกเป็นโครงสร้างที่เชื่อมระหว่างมดลูกของมารดาและทารก รกจะติดอยู่กับผนังด้านในของมดลูก เสมือนเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของตัวมารดา โดยจะมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรกกับทารก การจะดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ต้องอาศัยฮอร์โมนหลายชนิด
หน้าที่ของรก
รกเป็นบริเวณที่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาและทารกมาพบกัน โดยเชื่อมต่อสายสะดือของทารกกับมดลูก ของมารดา รกทำหน้าที่ 2 ประการคือ
– ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอาหาร อากาศและของเสียจากทารกในครรภ์ของทารกในครรภ์
– ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวในมดลูก ซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จำเป็น ระหว่างตั้งครรภ์และเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกลไกลการเจ็บครรภ์รวมทั้งฮอร์โมนอีสโทรเจน และฮอร์โมน
โพรเจสเทอโรน
9
ก) ข)
ก) ทารกในครรภ์ต้องอาศัยรกในการแลกเปลี่ยนอาหาร อากาศ และของเสียจากทารกในครรภ์
ข) เส้นเลือดของทารกจะแช่จุมอยู่ใกล้ชิดกับเส้นเลือดมารดาเพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร อากาศ และของเสียจากทารกในครรภ์
ฮอร์โมนที่สร้างจากรก
รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่
1.ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน
ในช่วงแรกประมาณ 6-8 สัปดาห์จะได้รับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจากคอร์ปัส ลูเทียมที่รังไข่ หลังจากนั้นรกจะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ เป็นฮอร์โมนที่สำคัญมาก ที่จะทำให้การตั้งครรภ์ สามารถดำเนินต่อไปได้ โดยการยับยั้งการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้ร่างกายไม่กำจัด ทารกซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกายออกมาโดยไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ฮอร์โมนที่สร้างส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาส่วนน้อยที่ผ่านไปยังทารก
10
แสดงระดับฮอร์โมนต่างๆ ระหว่างการตั้งครรภ์
จะเห็นว่าในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ระดับของHCGซึ่งสร้างจากรกจะสูงมากและฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนที่สร้างจากคอร์ปัส ลูเทียมยังคงสูงอยู่ ซึ่งทำให้ไม่มีประจำเดือนและทำให้เยื่อบุมดลูกเจริญ เมื่อรกทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนได้มากขึ้น (ภาพกลาง) คอร์ปัส ลูเทียมจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนน้อยลงและหมดหน้าที่ไป (ภาพสุดท้าย) และระดับของ HCG จะลดลง เมื่อระยะเวลาการตั้งครรภ์มากขึ้น รกจะผลิตฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนได้มากขึ้น
2.ฮอร์โมนอีสโทรเจน
การสร้างฮอร์โมนนี้จะไม่เหมือนกับที่รังไข่ เพราะรกไม่มีเอนไซม์ 17 – βไฮดรอกซิเลสที่จะเปลี่ยนโพรเจสเตอโรน หรือ เพรกนีโนโลน(pregnenolone) เป็นอีสโทรเจน จึงต้องอาศัยสเตอรอยด์ที่สร้างมาจากต่อมหมวกไตของแม่ และของทารกแทน โดยเซลล์โทรโฟบลาสท์จะใช้ดีไฮโดรอิพิแอลโดรสเตอโรน ซัลเฟต (DHEA-S) ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตของแม่ และของทารกมาเป็นสารตั้งต้นที่จะผลิตอีสตรา
ไดออล 17 เบต้า อีสโตรนจะถูกหลั่งมาที่เลือดแม่ แต่อีสตราไดออลจะถูกต่อมหมวกไต ของทารกเปลี่ยนไปเป็น อีสไทรออล กลับมาที่รกเพื่อเข้ากระแสเลือดแม่ หน้าที่ของอีสโทรเจนในการตั้งครรภ์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าในขณะใกล้คลอดจะมีปริมาณของอีสโทรเจนสูง และอีสโทรเจนทำให้มีเลือดมาเลี้ยงที่มดลูกมาก
3.ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน (human chorionic gonadotropin: HCG)
ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟินเป็นไกลโคโปรตีน มี 2 หน่วยคือ สายแอลฟาและสายเบตา สายแอลฟาประกอบด้วยกรดอะมิโน 92 ตัว สายเบตามีกรดอะมิโน 145 ตัว เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากถุงน้ำคร่ำที่อยู่ติดกับมดลูก (chorian) สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่วันที่ 8 ของการปฏิสนธิ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ปริมาณ HCG จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยจะมีประมาณ 100 IU/L ในวันที่ที่ขาดประจำเดือน และ100,000 IU/L ขณะอายุครรภ์ 8-10 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะลดลงเหลือประมาณ 10,000 – 20,000 IU/L และคงที่ตลอดการตั้งครรภ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เป็นระบบที่ทำหน้าที่คล้ายกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย ซึ่งนอกจากสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือเซลล์ไข่และสร้าง hormone เพศห...